top of page
Featured Posts

สิ่งที่ต้องรู้ "โรคข้อไหล่ติด" (Frozen Shoulder)


Image: The Independent

สิ่งที่ต้องรู้ โรคข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder)

ข้อไหล่ติด ข้อไหล่ยึด (Frozen shoulder หรือ Adhesive Capsulitis) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการเจ็บบริเวณไหล่ โดย ทางการแพทย์จะเรียกภาวะไหล่ติดนี้ว่า "adhesive capsulitis" หรือถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็คือ ภาวะเอ็นข้อไหล่อักเสบนั่นเอง ในความหมายของมัน ก็หมายถึงการเจ็บข้อไหล่ร่วมกับมีอาการติดขัด เป็นผลมาจากการอับเสบของข้อไหล่และพังผืดรอบๆ ข้อไหล่ที่ทำให้การเคลื่อนไหวของถูกจำกัด

อาการของข้อไหล่ติด

อาการข้อไหล่ติดนั้นมักจะรู้สึกปวดหรือเจ็บตื้อๆบริเวณหัวไหล่ และจะรู้สึกเจ็บมากขึ้นเวลาที่ขยับ หรือ เคลื่อนไหวหัวไหล่นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตอาการได้จากกิจกรรมการใช้ชีวิตประจำบางอย่างด้วยตัวคนไข้เอง เช่น:

- ไม่สามารถยกแขนเหนือระดับไหล่ - ขว้างลูกบอลไม่ได้ - ไม่สามารถเอื้อมแขนไปด้านหน้าอย่างรวดเร็ว - ไม่สามารถเอามือไปด้านหลังแขน เช่น ถอดชุดชั้นใน หรือ เกาหลัง

- ไม่สามารถเอื้อมมือไปด้านข้างและด้านหลัง เช่น เอื้อมไปใส่เข็มขัดนิรัดภัยขณะนั่งรถ - ไม่สามารถนอนทับข้างที่เป็น

บางครั้งโรคข้อไหล่ติดมันจะถูกวินิจฉัยผิด หรือสับสนการบาดเจ็บของหัวไหล่จากสาเหตุอื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการวินิจฉัยโรคให้แม่นยำ เนื่องจากการวางแผนการรักษาและระยะเวลาการฟื้นตัวจะแตกต่างกันอย่างมากกับโรคข้อไหล่อื่นๆ เช่น โรคข้อไหล่เสื่อม หรือ เอ็นกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ฉีกขาด

สาเหตุการเกิดไหล่ติด คืออะไร

ตอนนี้ยังไม่ทราบว่าการที่ไหล่ติดเกิดจากอะไร รวมยังไม่ทราบอีกก็คือทำไมถึงเริ่มเกิดอาการไหล่ติด แต่ส่วนมากจะพบในคนไข้ที่มีสาเหตมาจาก 2 ส่วน

1. จากปัญหาทางสุขภาพ เช่นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism) และภาวะพร่องไทรอยด์ (hypothyroidism) คนไข้ที่มีปัจจัยสุขภาพเหล่านี้ มีโอกาสเกิดภาวะข้อไหล่ติดได้มากกว่าคนที่มีร่างกายแข็งแรง

2. จากผ่าตัด คนไข้ที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายข้อไหล่หลังผ่าตัดมักพบว่าข้อไหล่จะมีการพัฒนาไปเป็นภาวะไหล่ติดในอนาคต หลังผ่าตัดจะแนะนำว่าควรปฏิบัติตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดเพื่อเลี่ยงปัญหาการเกิดไหล่ติดที่จะเกิดขึ้นตามมา

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับภาวะไหล่ติด

ภาวะไหล่ติดนี้จะทำให้เอ็นข้อไหล่หดสั้น (< 5 cm3) และมีการหนาตัวอย่างเห็นได้ชัด (จาก~1mm to ~5mm) ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเจ็บและติดขัดในข้อ ส่งผลให้มุมการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลง เอ็นข้อไหล่ (shoulder capsule) เป็นชั้นที่อยู่ลึกที่สุดของเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อไหล่ และมีบทบาทสำคัญในการทำให้ข้อไหล่วางตัวอยู่ในเบ้าข้อไหล่ (shoulder socket)

Image: Mayo Clinic

ระดับการติดของข้อไหล่ จะแบ่งได้ 3 ระยะ

1. Freezing ระยะที่ 1 จะมีอาการปวดเป็นหลักบริเวณรอบๆ ข้อไหล่เป็นอันดับแรก ตามมาด้วยการลดลงของมุมการเคลื่อนไหว บางครั้งจะเรียกระยะนี้ว่า RED phase เนื่องจากถ้าส่องกล้องเข้าไปดูข้างใน (arthroscopic surgery) จะเห็นสีของเอ็นรอบข้อไหล่ อักเสบและมีการไหลของเลือด โดยระยะนี้จะเห็นในช่วง 3-9 เดือน ที่เริ่มมีอาการ

2. Frozen ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มีการติดอย่างเห็นได้ชัด ในช่วงแรกของระยะนี้ ที่เปลี่ยนจากระยะ 1 เป็นระยะ 2 อาจมีอาการเจ็บมาก ส่วนช่วงท้ายๆของระยะนี้ความเจ็บจะค่อยๆหายไป แต่จะเริ่มมีการจำกัดการทำกิจกรรมอย่างเห็นได้ชัด เช่น การเอื้อมมือไปที่หลัง หรือ การยกแขนขึ้นเหนือหัวได้ไม่สุด เนื่องจากข้อไหล่เริ่มติดมากขึ้น โดยระยะนี้จะเรียกว่า PINK phase ซึ่งจะเป็นระยะที่ต่อจากระยะแรกตั้งแต่ 9-15 เดือน

3. Thawing ระยะที่ 3 เป็นฟื้นตัว จะเป็นระยะที่การเคลื่อนไหวเริ่มค่อยๆดีขึ้น และอาการปวดลดลง ระยะนี้สามารถเป็นได้นานประมาณ 15-24 เดือน (Kelley et al 2009, Walmsley et al 2009, Hannafin et al 2000) จากการวิจัยเพิ่มเติมได้ระบุว่า การได้รับการรักษาจะสามารถช่วยได้ โดยจะเป็นการรักษาจะเน้นที่การลดความเจ็บปวดในระยะแรก และจะเน้นการเพิ่มมุมการเคลื่อนไหวในระยะท้ายๆด้วยวิธีกายภาพบำบัด (Hanchard et al., 2011)

ใครที่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้

โรคไหล่ติดมักจะเกิดกับผู้ที่อายุระหว่าง 40-60 ปี บางคนอาจจะเป็นข้อไหล่ติดแบบไม่ทราบสาเหต หรือ แต่คนไข้อีกส่วนที่พบบ่อยก็จะเกี่ยวข้องกับการมีโรคประจำตัว หรือการได้รับอุบัติเหตุ เช่น

- มีการบาดเจ็บข้อไหล่ หรือเกิดอุบัติเหตกับข้อไหล่มาก่อน - การผ่าตัด - เบาหวาน - การติดเชื้อ - การไม่ค่อยได้ใช้ข้อไหล่นานๆ - โรคภูมิคุ้มกัน - มะเร็งกระดูกสันหลังส่วนคอ และ - ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และภาวะพร่องไทรอยด์

การรักษาทางกายภาพบำบัดภาวะไหล่ติด

การรักษาภาวะไหล่ติดนี้จะขึ้นอยู่กับระยะที่คนไข้กำลังเป็น และจะได้การรักษาที่เฉพาะเจาะจงกับความต้องการของคนไข้แต่ละคน โดยการรักษาจะเน้นไปที่การลดปวด และเพิ่มองศาการยกของหัวไหล่ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การขยับข้อต่อ การติดเทปพยุงกล้ามเนื้อ และการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Page & Labbe 2010). สิ่งที่สำคัญ คือ การขยับข้อต่อนั้นจะต้องไม่แรงเกินไป เพราะจำให้เกิดอาการอักเสบของข้อไหล่เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นการขยับข้อต่อด้วยแรงที่พอดีและเฉพาะเจาะจงต่อข้อ รวมถึงการใช้เทคนิคการยืดกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มองศาของการเคลื่อนไหว และความแข็งแรงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจำทให้กลับไปทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะเทคนิคการขยับกระดูกพร้อมกับเคลื่อนไหว (mobilization with movement) เป็นเทคนิคที่พบว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดและมีประสิทธิภาพมากกว่าการออกกำลังกายยืดเพียงอย่างเดียว (Doner et al., 2013, Yang et al., 2007)

การผ่าตัดข้อไหล่ติด

การผ่าตัดเป็นอีกทางเลือกสำหรับคนไข้ที่อยู่ในระยะสุดท้าย (Thawing) แล้วพบว่าการรักษาทางกายภาพบำบัดไม่ได้ตอบสนองดี ดังนั้นแพทย์อาจจะใช้วิธีการส่องกล้อง หรือ วางยาสลบเพื่อดัดกระดูก หลังจากนั้นจึงทำการรักษาด้วยการกายภาพบำบัดอีกครั้งเพื่อเพิ่มมุมการเคลื่อนไหวใหม่ อย่างไรก็ตามภาวะข้อไหล่ติดเป็นภาวะที่มีระยะเวลาในการฟื้นตัวนานถึง 18-24 เดือนในเคสส่วนใหญ่ ดังนั้นพบว่าคนไข้ร้อยละ 60-80 จะตอบสนองต่อการรักษาแบบไม่ผ่าตัด (Grant et al., 2013, Castellarin et al., 2004)

Thank You Resource/Reference: https://bit.ly/2TbMzO2

For more information, please contact Newton EM Physiotherapy Clinic (พร้อมให้บริการ 4สาขา ลาดพร้าว | ทองหล่อ | ราชดำริ | กาญจนาภิเษก ) Tel. +66 (0) 99-553-9445 Operation hours : 10.00-19.00 pm. www.newtonem.com facebook.com/newtonemclinic Line ID : @newtonem **Please make an appointment in advance**

Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
bottom of page