top of page
Featured Posts

“ ข้อเท้าพลิก/แพลง ”

ข้อเท้าพลิกข้อเท้าแพลงเป็นอาการที่พบได้บ่อยของข้อเท้า ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดและบวมที่ข้อเท้า สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย รวมไปถึงอาจเกิดจากอุบัติเหตุ อย่างการเดินบนพื้นขรุขระ การเดินสะดุดหกล้ม ผู้หญิงที่ใส่รองเท้าส้นสูง นักกีฬาที่ต้องกระโดด เปลี่ยนทิศทางการวิ่งและการหมุนตัว ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เกิดข้อเท้าพลิก/แพลงได้ ข้อเท้าแพลงเกิดจากการบาดเจ็บของเอ็นรอบข้อ(ligament) ซึ่งมักเกิดข้อเท้าแพลงทางด้านนอกมากกว่าข้อเท้าแพลงทางด้านใน เราจึงจะเจอพยาธิสภาพของโรคนี้ที่เอ็นข้อเท้าทางด้านนอก(anterior talofibular ligament) เนื่องจากลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของข้อเท้าเองที่มีตาตุ่มด้านนอก(lateral maleolus) ยาวกว่า ตาตุ่มด้านใน(medial malleolus) และมีเอ็นของข้อเท้าด้านใน(deltoid ligament) ที่มีความแข็งแรงมากกว่า จึงทำให้ข้อเท้ามักเกิดการพลิกเข้าทางด้านใน ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของเอ็นทางด้านนอก(lateral ankle sprain) โดยมักเกิดการพลิกของข้อเท้าในท่าปลายเท้าถีบลงร่วมกับการบิดปลายเท้าเข้าด้านใน(plantarflexion with inversion)

Source: https://www.physicool.co.uk/injury-guides/foot-and-ankle-injury/

อาการและอาการแสดง(signs & symptom)

1. มักเคยมีประวัติข้อเท้าพลิกมาก่อน

2. มีอาการปวดที่ใต้ และหน้าต่อตาตุ่มทางด้านนอก(lateral malleolus) พบอาการบวมทางด้านนอก และอาจเกิดอาการช้า(bruising) บริเวณเหนือตาตุ่มทางด้านนอก

3. พบอาการปวดมากขึ้น เมื่อลงน้าหนัก/ยืด(passive stretching) เมื่อเดินจะก้าวเท้าข้างที่พลิกได้สั้นลงเนื่องจากปวด จึงรีบก้าวเท้าข้างที่ไม่พลิกมารับน้าหนักแทน (short stance phase)

ซึ่งทางการแพทย์ได้แบ่งความรุนแรงของการบาดเจ็บออกเป็น 3 ระดับ

ระดับที่ 1 มีการยืดหรือขาดของเอ็นเพียงเล็กน้อย อาจพบเพียงบวมและกดเจ็บบริเวณเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บ

ระดับที่ 2 มีการฉีกขาดของเอ็นเพียงบางส่วน(โดยปกติจะไม่เกินร้อยละ 50) ในกลุ่มนี้พบอาการปวดและบวมค่อนข้างมาก จน อาจทาให้เดินลงน้าหนักไม่ค่อยได้

ระดับที่ 3 รุนแรงที่สุด มีการฉีกขาดของเอ็นทั้งหมด มักพบว่าไม่สามารถเดินลงน้าหนักได้ และส่วนใหญ่พบว่ามีความหลวมของข้อเท้า

การดูแลตนเองและการรักษาทางกายภาพบาบัด

1. สำหรับแนวทางการรักษาเบื้องต้น ในช่วง 24 - 48 ชั่วโมงแรก (protection phase)

ใช้หลัก RICE คือ

R = Rest ควรพักข้อเท้า พยายามเคลื่อนไหวข้อเท้าให้น้อยที่สุดและให้ข้อเท้าอยู่ในแนวปกติ หรือให้มีการกระดกเท้าขึ้นร่วมกับบิดเท้าออกด้านนอกเล็กน้อย(neutral or slight ankle dorsiflexion and eversion) แต่ไม่ควรให้ข้อเท้าบิดเข้าด้านใน(no inversion)

I = Ice ควรใช้ความเย็นประคบบริเวณที่บาดเจ็บเป็นระยะเวลา 20 นาที ทุกๆ 2 ชั่วโมง เนื่องจากความเย็นจะช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ลดความเจ็บปวด และลดอาการบวมได้ ที่สำคัญห้ามประคบร้อนและใช้ครีมหรือยาหม่องนวด เพราะจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว ทำให้มีเลือดออกมาก และข้อเท้าจะบวมขึ้นอีก

C = Compression or support ใช้ผ้ายืดพัน หรือใช้ไม้เท้าช่วยพยุงขณะเดิน

E = Elevation ควรยกเท้าไว้ในระดับที่สูงขณะนั่งหรือนอนจะช่วยให้อาการบวมลดลง ไม่ควรยืนหรือนั่งห้อยขานานๆ เพราะจะทาให้ข้อเท้าบวมและปวดมากขึ้น

2. สำหรับผู้ที่มีอาการบวม ปวดมากและรู้สึกว่าความมั่นคงของข้อเท้าลดลง แนะนาให้เข้ารับการทาง

กายภาพบาบัด โดยอาจใช้เครื่องมือ Ultrasound, LASER ในการลดปวด หรือใช้ Interferential current ในการลดอาการปวดและบวม และเมื่ออาการบวมหายไป อาการปวดลดลง เราก็จะมาเริ่มการออกกำลังกายในทุกทิศทางของข้อเท้า(return to function phase) ระยะนี้เราจึงควรออกกาลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง(strength) ความมั่นคง(stability) และการรับรู้ของข้อต่อ(proprioceptive) เพื่อลดโอกาสการเกิดข้อเท้าพลิกซ้าได้ในอนาคต

2.1 ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเท้า

  • นั่งเข่าเหยียดกระดกข้อเท้าขึ้น/ลงให้สุด ทำ 10 ครั้ง/ชุด วันละ 3 ชุด อย่าให้กระตุ้นอาการปวด

  • บิดข้อเท้าเข้า/ออก เบาๆ ทำ 10 ครั้ง/ชุด วันละ 3 ชุด อย่าให้กระตุ้นอาการปวด

2.2 ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อโดย “ยืดให้รู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ” แล้วค้างไว้ 10 วินาที ทำ 10 ครั้ง/ชุด วันละ 3 ชุด

2.3 ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทุกท่าทำ 10 ครั้ง/ชุด วันละ 3 ชุด และอย่าทำให้กระตุ้นอาการปวด ทำในทุกทิศทาง (กระดกข้อเท้าขึ้น-ลง และบิดเท้าเข้าด้านใน-นอก)

2.4 ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับรู้ของข้อต่อ ซึ่งการฝึกการรับรู้ของข้อต่อจะเป็นตัวช่วยที่ดีมากในการลดอัตราการเกิดข้อเท้าพลิกซ้าได้

- เริ่มจากฝึกท่าง่ายๆก่อน ดังภาพที่ 5 โดยให้เท้าทั้ง 2 ข้างวางบน rocker, wobble หรือ balance board แล้วขยับข้อเท้าไปทิศทางต่างๆ ถ้าข้างที่ยังมีปัญหาทาไม่ได้อาจจะให้ข้างที่ไม่มีปัญหาเป็นตัวช่วยในการขยับไปในทิศทางต่างๆ

- ฝึกยืนขาเดียว (ควรฝึกทั้ง 2 ข้าง) 20 วินาที 10 ครั้งต่อวัน เพิ่มลำดับความยาก โดยการเพิ่มระยะเวลา, ยืนกอดอกและหลับตา, ฝึกยืนในพื้นนิ่ม หรืออาจฝึกยืนบน rocker, wobble หรือ balance board อาจจะยืน 2 ขาก่อน เมื่อเริ่มทำได้ดีแล้วจึงค่อยฝึกยืนขาเดียว ดังรูปที่ 6

การรักษาทางกายภาพบำบัด จะช่วงเร่งกระบวนการซ่อมของเอ็นข้อต่อ และฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อเอ็นรอบข้อต่อให้มีความมั่นคงมากขึ้น หากท่านต้องการขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติมสามารถติดต่อทางคลินิกได้ตลอดเวลา

For more information, please contact Newton EM Physiotherapy Clinic (Bangkok) Tel. +66 (0) 99-553-9445 Operation hours : 10.00-19.00 pm. www.newtonem.com

facebook.com/newtonemclinic Line ID : newtonem Address : Newton EM Physiotherapy 810 Floor 8 Phomphan 2 Tower Lat Phrao soi 3 (MRT Prahon Yothin Station Exit 5) **Please make an appointment in advance**

เอกสารอ้งอิง 1. Kisner Carolyn and Colby Lynn. The ankle and foot. In: Biblis Margaret, Euffield Melissa, editors. Therapeutic exercise foundations and techniques. 6 th ed.philadelphia: F.A.DAVIS COMPANY; 2013. p.238,870-89

2. Moore Keith, Dalley Arthur and Agur Anne. Clinically oriented anatomy. In: Taylor Crystal, Heise Jessica, Montalbano Julie, editors. Lower limb. 6 th ed. Philadelphia: Lippincott Williams&Wilkins, a Wolters Kluwer business; 2010. p.665-66 3. Mattacola Carl and Dwyer Maureen. Rehabilitation of the ankle after acute sprain or chronic instability. Journal of Athletic Training. 2002; 37(4): 413-429 4. Schiftan Gabriella, Ross Lauren and Hahne Andrew. The effectiveness of proprioceptive training in preventing ankle sprains in sporting populations: A systematic review and meta-analysis. Journal of Science and Medicine in Sport. 2015; 18: 238–244

5. ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. ข้อเท้าพลิก์ [อินเทอร์เน็ต]. -. [เข้าถึงเมื่อ 23 ก.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rcost.or.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=17:2010-01-28-07-26-49&catid=19&Itemid=109

Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
bottom of page