top of page
Featured Posts

อาการปวดแปลกๆที่ข้อมือ “ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ” (De Quervain’s Tenosynovitis หรือ Tendinosis)


หลายๆ ท่านคงสงสัยว่าโรคที่จะกล่าวในบทความนี้ทำไมชื่อถึงไม่ค่อยคุ้นหูกันนัก ซึ่งโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (หรือเรียกว่าโรค De Quervain’s tenosynovitis) นั้น เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วหัวแม่มือตรงบริเวณข้อมือ (โคนนิ้วหัวแม่มือ) ทำให้เกิดอาการบวม อาการปวด และอาจมีการหนาตัวของเส้นเอ็น

ที่มาของภาพ Helthwise

พบได้บ่อยในคนที่ต้องใช้นิ้วหัวแม่มือบ่อยๆ ในท่ากางนิ้วหัวแม่มือออกทางด้านข้างและกระดกขึ้น ใช้ข้อมือเยอะๆ หรือในบางรายอาจพบว่าเคยมีการบาดเจ็บในตำแหน่งนี้มาก่อน เช่น พนักงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือเมาส์ทำงานเป็นเวลานาน แม่บ้านที่ทำความสะอาดบ้านหรือนักกีฬาประเภทแบดมินตัน ปิงปอง วอลเลย์บอล เป็นต้น

โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดเจ็บและบวมบริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ บวมบริเวณเอ็นตรงโคนนิ้วหัวแม่มือ อาการอาจจะค่อยเป็นค่อยไป หรืออาจจะเกิดทันที อาการปวดอาจจะร้าวไปข้อศอก หรือมีอาการชาด้านหลังนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ อาการจะปวดมากโดยเฉพาะเวลาหยิบจับสิ่งของ หรือมีการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ เช่น เวลาเหยียดและงอนิ้วหัวแม่มือเต็มที่ บิดเสื้อผ้า ยกขันน้ำ กวาดพื้น อุ้มลูก เป็นต้น

วิธีเช็คง่ายๆว่าคุณมีปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบหรือไม่

ทำท่ากำนิ้วหัวแม่มือและให้หักข้อมือลงทางด้านนิ้วก้อย ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดเจ็บบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือแสดงว่าผู้ป่วยมีภาวะโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เราเรียกการตรวจนี้ว่า “Finkelstein’s test”

ภาพจาก American Society for Surgery of the Hand

การรักษาทางกายภาพบำบัดเมื่อเกิดโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ

1. การใช้เทปผ้าบำบัด เทปผ้าบำบัดจะช่วยพยุงกล้ามเนื้อ เร่งการซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บ ลดอาการปวด

ภาพจาก Kinesiology Taping

2. การใช้เลเซอร์เพื่อการรักษา LASER ซึ่งให้ผลดีต่อการระงับอาการปวดและการอักเสบของข้อและเนื้อเยื่อทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง กระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อให้หายเร็วขึ้น (ไม่มีผลข้างเคียงในคุณแม่ที่ต้องให้นมลูกน้อย)

ภาพจาก www.solaj.ca

3. การใช้คลื่นอัลตร้าซาวน์เพื่อการบำบัด จะช่วยลดปวด ลดบวม ลดการอักเสบ (ไม่มีผลข้างเคียงในคุณแม่ที่ต้องให้นมลูกน้อย)

ภาพจาก Amarillo Pain & Chiropractic Clinic

4. การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ให้มีความแข็งแรงสามารถกลับมาใช้งานได้ดังเดิม

ภาพจาก Summit Medical Group

การดูแลตนเองเบื้องต้น

1. หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ ในท่ากางนิ้วออกหรือกระดกนิ้วขึ้น

2. ถ้าปวดมากอาจใช้ผ้ายืดพัน หรือใส่อุปกรณ์พยุงนิ้วหัวแม่มือ (splints)

3. ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็น (ขึ้นอยู่กับระยะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและอาการแสดง) หรือใช้ยานวดบรรเทาอาการปวด

4. งานบางอย่างต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้าหรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ เช่นทำ 45 นาที ควรจะพักมือสัก 10 นาที

5. ถ้ามีอาการข้อฝืด กำมือได้ไม่ถนัดตอนเช้า ควรแช่น้ำอุ่น และบริหารโดยการขยับข้อมือเบาๆ ในน้ำ จะทำให้ข้อมือเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น ร่วมกับค่อยๆ ยืดเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่เกิดการบาดเจ็บ

6. ถ้าปวดมากๆ อาจทานยา Anti-inflammatory medication (NSAIDs) หรือฉีด Corticosteroids ที่ปลอกหุ้มเอ็น ซึ่งช่วยลดอาการปวดและบวมได้

7. ถ้าอาการของโรครุนแรงหรือการดูแลรักษาข้างต้นไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้น อาจจะแนะนำให้พิจารณาการผ่าตัด โดยวัตถุประสงค์เพื่อเปิดปลอกหุ้มเอ็นข้อมือขยายให้มีพื้นที่มากขึ้น ไม่ไปบีบรัดเส้นเอ็นของนิ้วหัวแม่มือ

นิ้วตั้น เอ็ม คลินิกกายภาพบำบัด (NEWTON EM Physiotherapy Clinic)

ทุกวันจันทร์-เสาร์ เวลา 10.00-19.00 น. (**กรุณาโทรนัดหมายล่วงหน้า**)

โทร. 099-553-9445

www.newtonem.com

facebook.com/newtonemclinic

Line ID : @newtonem

...

Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
bottom of page